ประวัติความเป็นมาของอุตสาหกรรมเอวีญี่ปุ่น

Admin Jan 22 2021

           ก่อนจะเข้าเรื่องประวัติความเป็นมาของอุตสาหกรรมหนังเอวีญี่ปุ่นคงต้องย้อนไปถึงรากเหง้าจินตนาการเกี่ยวกับ Sex ในรากฐานวัฒนธรรมที่ลึกซึ้งของญี่ปุ่นกันก่อนว่าทำไมทุกวันนี้หนัง เอวีญี่ปุ่นถึงได้มีพล๊อตที่เรียกได้ว่าล้ำที่สุดในโลกแล้ว



ภาพพิมพ์แกะสลักของญี่ปุ่นที่แสดงภาพทางเพศที่เรียกว่า Shunga (“Spring pictures”) มีขนาดใหญ่ในสมัยเอโดะ (1603-1868)






ภาพพิมพ์ shunga หลายๆ ภาพคุ้นตาเหมือนเป็นฉากหนึ่งในหนังเอวีปัจจุบันมากผลงานที่มีชื่อเสียงของ Hokusai “ความฝันของภรรยาชาวประมง”



หนึ่งในเหล่านี้คือความฝันของภรรยาชาวประมงที่สร้างขึ้นโดย Hokusai ซึ่งสามารถพิจารณาได้ ต้นกำเนิดของ “หนวดซน” (Tentacle)


อุตสาหกรรมเอวีของญี่ปุ่นเริ่มต้นได้อย่างไร?

ในยุค 70 ภาพยนตร์แนว softcore ชื่อ “ภาพยนตร์สีชมพู” กลายเป็นที่นิยมทำให้โรงภาพยนตร์ในญี่ปุ่นเฟื่องฟูมาก จนถึงปี ค.ศ. 1976 การมาถึงของเครื่องเล่น VDO แบบตลับ VHS ความต้องการในการดูภาพยนตร์สำหรับผู้ใหญ่แบบส่วนตัวจึงมีความต้องการสูงขึ้นในทันที ทำให้อุตสาหกรรมเอวีสามารถเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 1977 โดยสมาคมจริยธรรมวิดิโอญี่ปุ่น (Nihon Ethics of Video Association  หรือ NEVA) ก็ได้มีข้อกำหนดมาตรฐานสำหรับสิ่งที่สามารถ และไม่สามารถแสดงในโปรดักชั่นได้ – ที่เราเห็นว่าเอวีแบบถูกกฏหมายในปัจจุบันมีการเซ็นเซอร์แบบโมเสกอยู่ก็เพราะข้อกำหนดนี้แหละ โดยทางข้อกฏหมายคือในเอวีนั้นเป็นการแสดงเท่านั้น ห้ามมีการสอดใส่จริง!! ที่เราเห็นอยู่ในจอนั่นคือ เขาแค่แสดงกันเท่านั้นนะครับ


ซึ่งในช่วงแรกที่กฎหมายนี้ออกมาในอุตสาหกรรมเอวีก็มีการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด แต่ว่าแน่นอนนักแสดงเองกลับบอกว่าถ้าสอดใส่จริงเลยมันจะง่ายกว่าต้องแกล้งว่าถูกสอดใส่ทั้งที่ไม่ได้ทำจริงๆ จุดนี้ก็เลยกลายเป็นโซนสีเทาๆ แบบลูบหน้าปะจมูกในอุตสาหกรรมเอวี ญี่ปุ่นไป



TAKAHASHI GANARI ผู้คิดค้นพล๊อตเรื่องใหม่ที่ไปไกลกว่าแค่ SEX ระหว่างคน 2 คน


ในปี 1995 อดีตโปรดิวเซอร์ และผู้ประกอบการโทรทัศน์ Takahashi Ganari ก่อตั้งค่ายหนัง Soft on Demand นำเสนอสไตล์การผลิตที่ดูเก๋ไก๋ของเขาไปสู่โลกแห่งวิดีโอสำหรับผู้ใหญ่ ตัวอย่างความความสำเร็จด้วยไอเดียของคุณ Takahashi ได้แก่ เริ่มมีการให้แฟนๆ หนังได้โหวตโดยตรงว่าฉากอะไรที่พวกเขาต้องการดู หลายโปรเจคของเขาที่สร้างชื่อเสียง เช่น Deep Kiss (ขอให้เพื่อนหญิงสองคนจูบกล้องเพื่อเงิน) , ซีรีส์ Zenra (สาว ๆ เล่นสเก็ตน้ำแข็งบาสเกตบอล และแม้แต่นักเต้นบัลเล่ต์ที่เปลือยเปล่า) และจิมิ๊กระป๋องที่ชายไทยหลายคนรู้จักกันดี หลังๆ แทบจะหิ้วกลับมาเป็นของฝากมากกว่าโตเกียวบานาน่าแล้ว




ยุคทองของหนังเอวีญี่ปุ่น

จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้เกิดการเติบโตจนอาจเรียกว่าเป็นยุคทองของวงการหนังเอวี เกิดในราวปี 90s ซึ่งทำให้อุตสาหกรรมเติบโตขึ้นในหลายส่วน ซึ่งมาจากปัจจัยของบริษัทใหม่ๆ อย่าง Soft on Demand ในปี 1995 ที่ปฏิเสธการควบคุมของ NEVA ที่ควบคุมการปิดโมเสคหนาทึบในหนังเอวี ให้บางขึ้น ซึ่งเปิดให้เกิดเนื้อหาและภาพที่หลากหลายกว่างานเดิม รวมไปถึงการมาของยุค DVD ที่สามารถรับข้อมูลได้มากขึ้นแบบดิจิตอล ให้รายละเอียดภาพที่คมชัดกว่าเดิม รวมถึงการวางขายกล้องวิดีโอสำหรับถ่ายลง DVD ทำให้สื่อใหม่มาแทนวิดีโอในที่สุด และโฮคุโตะ โปรดักชั่น ที่ก่อตั้งในปี 1999 พร้อมวางขายและเช่าหนังเอวีผ่านออนไลน์ จนกลายเป็นแหล่งหนังเอวีที่ใหญ่ที่สุดอย่าง DMM – Digital Media Mart





สาวๆ แบบไหนที่ปรากฎในหนังเอวี?  มีผลกระทบทางสังคมต่อนักแสดงไหม?

คาดว่าในแต่ละปีมีนักแสดงหญิงที่เข้ามาในอุตสาหกรรมนี้ประมาณ 6000 คน เฉพาะในญี่ปุ่นมีผลงานเฉลี่ยต่อปีประมาณ 20,000 ชิ้น ซึ่งสาวๆ แต่ละคนก็เข้ามาด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน ทั้งความต้องการที่จะสร้างรายได้ หรือความมีชื่อเสียงเพื่อก้าวไปวงการอื่นๆ ต่อ ส่วนรายได้ดาราชั้นนำอย่าง Mana Sakura มีค่าจ้างถึงวันละ 25,000 USD สำหรับวันถ่ายทำเต็มรูปแบบในขณะที่นักแสดงที่มีชื่อเสียงน้อยกว่าจะทำให้น้อยลง ขั้นต่ำอาจเป็น 1,000 USD สำหรับฉากที่ไม่ค่อยมีคนยอมเล่นดาราหลายคนที่อยู่ในวงการเอวีญี่ปุ่นสามารถโกอินเตอร์ได้ต่ออย่าง Anri Okita (ปัจจุบันเกษียณไปแล้ว), Hitomi และ Shibuya Kaho ซึ่งเป็นไอดอลที่มีชื่อเสียงในระดับต้นๆ ของวงการเอวีญี่ปุ่น แต่มีสกิลด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างดีก็ไปมีผลงานในฝั่งตะวันตกด้วยทำให้เพิ่มฐานแฟนคลับของพวกเธอเข้าไปอีก โดยเฉพาะ Shibuya Kaho ความสามารถด้านภาษาเธอได้รับคะแนนเต็ม 100% จากการทดสอบ “Eiken” ระดับ 1 ซึ่งรวมถึงคะแนน TOEIC สูงถึง 990 แต่ถึงจะมีรายได้หรือการมีชื่อเสียงอย่างไรสังคมญี่ปุ่นก็ยังประกอบไปด้วยคนที่มีแนวคิดยุคเก่า และยุคใหม่ผสมกัน ดาราเอวีหลายคนไม่ได้รับการต้อนรับจากครอบครัวตัวเอง หลายคนที่ออกจากวงการไปเพื่อไปแต่งงานก็กลับไม่ประสบความสำเร็จเรื่องชีวิตคู่




อย่างไรก็ตามแม้ทุกวันนี้อุตสาหกรรม AV จะสร้างรายได้เข้าประเทศญี่ปุ่นปีละหลายพันล้านเหรียญ แต่ธุรกิจนี้ก็มีลักษณะด้านมืดอยู่มาก … ตั้งแต่การผูกขาดของธุรกิจที่มีสองบริษัทใหญ่ๆ ในวงการนั่นคือ โฮคุโตะ โปรดักชั่น (อาทิ S1, Attackers, Moodyz, Ideapocket) และ Soft on Demand (อาทิ SOD Star, Dandy, IEnergy, Deeps) ซึ่งผลิตหนังออกมาในตราอื่นๆ หลากหลายกันไป มีปริมาณเหนือกว่าบริษัทอื่นๆ อย่างมาก

รับทำเว็บหนัง